- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 มีนาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,720 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,874 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,620 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,446 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,144 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,965 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,154 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,396 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 431 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,773 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,616 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 157 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,512 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 393 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,395 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,732 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,710 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4380
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ที่ตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นจากตันละ 345 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากสัปดาห์ก่อนหน้า และหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการรับซื้อผลผลิตข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ในช่วงฤดูหนาว โดยบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ผลผลิตข้าวกำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศเริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบเอเชีย เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน อีกทั้งภาคเอกชนได้เรียกร้องให้ธนาคารชาติของเวียดนาม (The State Bank of Vietnam; SBV) สั่งการให้ธนาคารเอกชนสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจข้าวของเวียดนาม โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้มีเงินทุนในการประกอบธุรกิจ และรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ ตามโครงการของรัฐบาล เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ และให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่อง สามารถเข้าถึงเงินทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น
กรมศุลกากรเวียดนาม (the General Department of Vietnam Customs) รายงานว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 274,765 ตัน หรือลดลงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 711,759 ตัน หรือลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office) รายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 350,000 ตัน มูลค่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวได้แล้วประมาณ 788,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกปริมาณ 828,600 ตัน มูลค่าประมาณ 355 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีการประชุมประเมินผลผลิตและการบริโภคข้าวในเวียดนาม ณ จังหวัดด่งท้าป (Dong Thap) ซึ่งเป็นการประชุมหารือร่วมกันของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (The Ministry of Agriculture and Rural Development) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (The Ministry of Industry and Trade) ธนาคารแห่งประเทศเวียดนาม (The State Bank of Vietnam) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2562 ตลาดข้าวเวียดนามจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta)
โดยนาย Nguyen Ngoc Nam ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association: VFA) คาดการณ์ว่าในปี 2562 เวียดนามจะส่งออกข้าวปริมาณ 6 ล้านตัน เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และเวียดนามยังคงมุ่งเน้นการส่งออกข้าวไปยังตลาดเอเชียเป็นหลัก โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 491,000 ตัน และในไตรมาสที่ 2 สัญญาณการส่งออกข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวเวียดนามสามารถแข่งขันด้านราคาได้ ประกอบกับประเทศต่างๆ มีความต้องการข้าวที่เพิ่มขึ้น เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยเฉพาะจีน คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าว 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200,000 ตัน โดยครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าภายใต้รัฐวิสาหกิจ และอีกครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าของภาคเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจาก เวียดนาม ไทย กัมพูชา และพม่า โดยนาย Nguyen Ngoc Nam กล่าวต่อว่า จีนยังคงต้องการซื้อข้าวจากเวียดนาม แต่คาดว่าจะซื้อในปริมาณที่ลดลง และคาดการณ์ว่าในปี 2562 อินโดนีเซียจะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น 800,000 ตัน จากในปีที่ผ่านมาที่นำเข้า 2.15 ล้านตัน โดยอินโดนีเซียจะเริ่มมีการนำเข้าข้าวในเดือนกรกฎาคม และคาดว่าตลาดฟิลิปปินส์จะมีการนำเข้าข้าวประมาณ 2.3 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการส่งออกข้าวของเวียดนาม ประกอบกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายอนุญาตให้บริษัทเอกชนสามารถนำเข้าข้าวโดยไม่จำกัดปริมาณ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเอกชนของฟิลิปปินส์ จำนวน 180 ราย ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อขอนำเข้าข้าวปริมาณรวม 1.2 ล้านตัน จึงแสดงให้เห็นว่า ตลาดฟิลิปปินส์ยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ยังคาดว่าตลาดมาเลเซียจะนำเข้าข้าวปริมาณ 950,000 ตัน อีกด้วย
ทางด้านนาง Bui Thi Thanh Tam ประธานกรรมการบริษัท Northern Food Corporation หรือ Vinafood 1 กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามข้อตกลงซื้อข้าวจากประเทศคู่ค้า และอยู่ระหว่างเจรจาซื้อข้าวกับผู้นำเข้าข้าวรายอื่นๆ ของเวียดนาม ส่วนนาย Le Minh Hoan เลขาธิการจังหวัดด่งท้าป (Dong Thap) กล่าวในการประชุมว่า จะต้องมีการแก้ไขอุปสรรคของการปลูกข้าวในด้านกระบวนการผลิต ระบบสินเชื่อ การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยโดยการจัดทำแผนระยะยาว เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิตและส่งออกข้าวของเวียดนามอย่างยั่งยืน และกล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้สั่งการให้กระทรวงต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาปริมาณข้าว
ที่มากเกินความต้องการของตลาด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร และการรวมกลุ่มกันผลิตข้าวเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการแยกกันผลิต ทำให้เกิดเสถียรภาพในการผลิตข้าว ลดแรงกดดันต่อเกษตรกร และลดความจำเป็นของภาครัฐในการเข้าช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากการรวมกลุ่มผลิตข้าวจะสามารถช่วยลดต้นทุน ทำให้เกษตรกรได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สำนักงานบริการด้านการส่งออกข้าวของกัมพูชา (Secretariat of One Window Service for Rice Export Formality; SOWS-REF) รายงานว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกข้าวไปแล้วประมาณ 112,486 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด โดยช่วง 2 เดือนแรก กัมพูชาส่งข้าวไปประเทศจีนประมาณ 43,452 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 38.6 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปนั้น กลับมีปริมาณลดลงเหลือเพียง 33,969 ตัน ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หลังจากที่สหภาพยุโรปประกาศใช้มาตรการภาษีนำเข้าข้าวจากกัมพูชาซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในปี2561 มีการส่งออกข้าวจำนวน 626,225 ตัน ลดลงร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับจำนวน 635,679 ตัน ในปี2560 โดยส่งออกข้าวหอมทุกชนิด (Fragrant Rice) จำนวนรวม 493,597 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 79 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.27 เมื่อเทียบกับจำนวน 394,027 ตัน ในปี2560 ส่วนการส่งออกข้าวขาว (White Rice) มีจำนวน 105,990 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 32.34 เมื่อเทียบกับจำนวน 156,654 ตัน ในปี2560 และข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) จำนวน 26,638 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 4 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 68.66 เมื่อเทียบกับจำนวน 84,998 ตัน ในปี2560
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญ ในปี2561 ประกอบด้วยตลาดสหภาพยุโรปจำนวน 269,127 ตัน (คิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 43 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 2.77 เมื่อเทียบกับจำนวน 276,805 ตัน ในปี2560 ตามด้วยตลาดอาเซียนจำนวน 102,946 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.58 เมื่อเทียบกับจำนวน 51,325 ตัน ในปี2560 ตลาดจีนจำนวน 170,154 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 14.86 เมื่อเทียบกับจำนวน 199,857 ตัน ในปี2560 และตลาดอื่นๆ จำนวน 83,998 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 13 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 107,692 ตัน ในปี2560
โดยในปี2561 กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากเป็นอันดับ 1 จำนวนประมาณ 170,154 ตัน ลดลงประมาณ 14.9% เมื่อเทียบกับจำนวน 199,857 ตัน ในปี2560 ตามด้วยประเทศฝรั่งเศส 86,050 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 77,363 ตัน ในปี2560 มาเลเซีย 40,861 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 38,360 ตัน ในปี2560 โปแลนด์ 23,142 ตัน ลดลงร้อยละ 47.4 เมื่อเทียบกับจำนวน 44,023 ตัน ในปี2560 เนเธอร์แลนด์26,714 ตัน ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 27,175 ตัน ในปี2560 สหราชอาณาจักร 18,178 ตัน ลดลง 32.1% เมื่อเทียบกับจำนวน 26,775 ตัน ในปี2560 กาบอง 33,060 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 24,677 ตัน ในปี2560 ส่วนประเทศอื่นๆ ที่กัมพูชาส่งออก ในปี2561 เช่น เวียดนาม 26,712 ตัน ไทย 23,816 ตัน เป็นต้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมา
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (Myanmar Rice Federation; MRF) ระบุว่าการส่งออกข้าวในปีนี้ จะมีอุปสรรค มากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกข้าวไปประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดมีแนวโน้มลดลง และอาจจะทำให้การส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2560/62 ไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ที่ 2.5 ล้านตัน (ภายในปี 2563/64 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกที่ 4 ล้านตัน มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมสองฝ่ายระหว่างหน่วยงานของทั้งสองประเทศ (the Second China Myanmar Economic Corridor Forum) ที่มณฑลยูนนานของจีน เมื่อเดือนที่ผ่านมาผู้แทนเจรจาของรัฐบาลเมียนมา ได้ขอให้รัฐบาลจีนเพิ่มโควตานำเข้าข้าวจากเดิมปีละ 100,000 ตัน เป็น 400,000 ตัน ซึ่งได้มีการร่างข้อตกลงไว้แล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่เปิดเผยออกมา นอกจากนี้ทางการเมียนมายังต้องการให้ทางการจีนปรับลดภาษีนำเข้าข้าวจากเมียนมา ลงจากเดิมที่ประมาณร้อยละ 60 เหลือเพียงร้อยละ 17-20 รวมทั้งขอให้มีการจัดสรรใบอนุญาตนำเข้า ให้แก่เอกชนของจีนเพื่อนำเข้าข้าวจากเมียนมาด้วย
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) รายงานว่า ในปีงบประมาณปัจจุบัน (2561/62 ระหว่าง 1 เมษายน 2561 –31 มีนาคม 2562) ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 - 15 กุมภาพันธ์ 2562 เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักรวมแล้ว ประมาณ 2.114 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกผ่านทางแนวชายแดนที่ติดกับประเทศจีน ประมาณ 1.076 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 360 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่งออกทางเรือประมาณ 1.038 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ในปีงบประมาณ 2560/61 เมียนมาส่งออกข้าวสารประมาณ 2.89 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และข้าวหักประมาณ 620,696 ตัน)
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ (the Ministry of Commerce) รายงานว่า ในช่วง 9 เดือนแรก (เมษายน- ธันวาคม 2561) ของปีงบประมาณปัจจุบัน (2561/62) เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักรวมกันประมาณ 1.7 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปประเทศจีนทางแนวชายในสัดส่วนประมาณร้อยละ 48 ของปริมาณทั้งหมด ขณะที่อีกร้อยละ 52 เป็นการส่งไปยังประเทศอื่นๆ ทางทะเล โดยปริมาณส่งออกในปีล่าสุด ลดลงเกือบ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.5 ล้านตัน มูลค่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการนำเข้าข้าวจากประเทศจีนลดลง โดยในปีนี้รัฐบาลได้ร่วมมือกับสหพันธ์ข้าวเมียนมา (Myanmar Rice Federation) ในการผลักดันการส่งออกโดยการปรับปรุงด้านการผลิต คุณภาพ ข้อมูลด้านการตลาด การวิจัย รวมทั้งการเชื่อมโยงไปยังตลาดนำเข้าใหม่ๆ ด้วย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,720 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,874 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,620 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,446 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,144 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,965 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,154 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,396 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 431 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,773 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,616 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 157 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,512 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 393 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,395 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,732 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,710 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4380
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ที่ตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นจากตันละ 345 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากสัปดาห์ก่อนหน้า และหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการรับซื้อผลผลิตข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ในช่วงฤดูหนาว โดยบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ผลผลิตข้าวกำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศเริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบเอเชีย เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน อีกทั้งภาคเอกชนได้เรียกร้องให้ธนาคารชาติของเวียดนาม (The State Bank of Vietnam; SBV) สั่งการให้ธนาคารเอกชนสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจข้าวของเวียดนาม โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้มีเงินทุนในการประกอบธุรกิจ และรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ ตามโครงการของรัฐบาล เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ และให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่อง สามารถเข้าถึงเงินทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น
กรมศุลกากรเวียดนาม (the General Department of Vietnam Customs) รายงานว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 274,765 ตัน หรือลดลงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 711,759 ตัน หรือลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office) รายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 350,000 ตัน มูลค่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวได้แล้วประมาณ 788,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกปริมาณ 828,600 ตัน มูลค่าประมาณ 355 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีการประชุมประเมินผลผลิตและการบริโภคข้าวในเวียดนาม ณ จังหวัดด่งท้าป (Dong Thap) ซึ่งเป็นการประชุมหารือร่วมกันของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (The Ministry of Agriculture and Rural Development) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (The Ministry of Industry and Trade) ธนาคารแห่งประเทศเวียดนาม (The State Bank of Vietnam) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2562 ตลาดข้าวเวียดนามจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta)
โดยนาย Nguyen Ngoc Nam ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association: VFA) คาดการณ์ว่าในปี 2562 เวียดนามจะส่งออกข้าวปริมาณ 6 ล้านตัน เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และเวียดนามยังคงมุ่งเน้นการส่งออกข้าวไปยังตลาดเอเชียเป็นหลัก โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 491,000 ตัน และในไตรมาสที่ 2 สัญญาณการส่งออกข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวเวียดนามสามารถแข่งขันด้านราคาได้ ประกอบกับประเทศต่างๆ มีความต้องการข้าวที่เพิ่มขึ้น เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยเฉพาะจีน คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าว 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200,000 ตัน โดยครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าภายใต้รัฐวิสาหกิจ และอีกครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าของภาคเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจาก เวียดนาม ไทย กัมพูชา และพม่า โดยนาย Nguyen Ngoc Nam กล่าวต่อว่า จีนยังคงต้องการซื้อข้าวจากเวียดนาม แต่คาดว่าจะซื้อในปริมาณที่ลดลง และคาดการณ์ว่าในปี 2562 อินโดนีเซียจะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น 800,000 ตัน จากในปีที่ผ่านมาที่นำเข้า 2.15 ล้านตัน โดยอินโดนีเซียจะเริ่มมีการนำเข้าข้าวในเดือนกรกฎาคม และคาดว่าตลาดฟิลิปปินส์จะมีการนำเข้าข้าวประมาณ 2.3 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการส่งออกข้าวของเวียดนาม ประกอบกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายอนุญาตให้บริษัทเอกชนสามารถนำเข้าข้าวโดยไม่จำกัดปริมาณ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเอกชนของฟิลิปปินส์ จำนวน 180 ราย ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อขอนำเข้าข้าวปริมาณรวม 1.2 ล้านตัน จึงแสดงให้เห็นว่า ตลาดฟิลิปปินส์ยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ยังคาดว่าตลาดมาเลเซียจะนำเข้าข้าวปริมาณ 950,000 ตัน อีกด้วย
ทางด้านนาง Bui Thi Thanh Tam ประธานกรรมการบริษัท Northern Food Corporation หรือ Vinafood 1 กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามข้อตกลงซื้อข้าวจากประเทศคู่ค้า และอยู่ระหว่างเจรจาซื้อข้าวกับผู้นำเข้าข้าวรายอื่นๆ ของเวียดนาม ส่วนนาย Le Minh Hoan เลขาธิการจังหวัดด่งท้าป (Dong Thap) กล่าวในการประชุมว่า จะต้องมีการแก้ไขอุปสรรคของการปลูกข้าวในด้านกระบวนการผลิต ระบบสินเชื่อ การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยโดยการจัดทำแผนระยะยาว เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิตและส่งออกข้าวของเวียดนามอย่างยั่งยืน และกล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้สั่งการให้กระทรวงต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาปริมาณข้าว
ที่มากเกินความต้องการของตลาด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร และการรวมกลุ่มกันผลิตข้าวเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการแยกกันผลิต ทำให้เกิดเสถียรภาพในการผลิตข้าว ลดแรงกดดันต่อเกษตรกร และลดความจำเป็นของภาครัฐในการเข้าช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากการรวมกลุ่มผลิตข้าวจะสามารถช่วยลดต้นทุน ทำให้เกษตรกรได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สำนักงานบริการด้านการส่งออกข้าวของกัมพูชา (Secretariat of One Window Service for Rice Export Formality; SOWS-REF) รายงานว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกข้าวไปแล้วประมาณ 112,486 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด โดยช่วง 2 เดือนแรก กัมพูชาส่งข้าวไปประเทศจีนประมาณ 43,452 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 38.6 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปนั้น กลับมีปริมาณลดลงเหลือเพียง 33,969 ตัน ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หลังจากที่สหภาพยุโรปประกาศใช้มาตรการภาษีนำเข้าข้าวจากกัมพูชาซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในปี2561 มีการส่งออกข้าวจำนวน 626,225 ตัน ลดลงร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับจำนวน 635,679 ตัน ในปี2560 โดยส่งออกข้าวหอมทุกชนิด (Fragrant Rice) จำนวนรวม 493,597 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 79 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.27 เมื่อเทียบกับจำนวน 394,027 ตัน ในปี2560 ส่วนการส่งออกข้าวขาว (White Rice) มีจำนวน 105,990 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 32.34 เมื่อเทียบกับจำนวน 156,654 ตัน ในปี2560 และข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) จำนวน 26,638 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 4 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 68.66 เมื่อเทียบกับจำนวน 84,998 ตัน ในปี2560
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญ ในปี2561 ประกอบด้วยตลาดสหภาพยุโรปจำนวน 269,127 ตัน (คิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 43 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 2.77 เมื่อเทียบกับจำนวน 276,805 ตัน ในปี2560 ตามด้วยตลาดอาเซียนจำนวน 102,946 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.58 เมื่อเทียบกับจำนวน 51,325 ตัน ในปี2560 ตลาดจีนจำนวน 170,154 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 14.86 เมื่อเทียบกับจำนวน 199,857 ตัน ในปี2560 และตลาดอื่นๆ จำนวน 83,998 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 13 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ลดลงร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 107,692 ตัน ในปี2560
โดยในปี2561 กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากเป็นอันดับ 1 จำนวนประมาณ 170,154 ตัน ลดลงประมาณ 14.9% เมื่อเทียบกับจำนวน 199,857 ตัน ในปี2560 ตามด้วยประเทศฝรั่งเศส 86,050 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 77,363 ตัน ในปี2560 มาเลเซีย 40,861 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 38,360 ตัน ในปี2560 โปแลนด์ 23,142 ตัน ลดลงร้อยละ 47.4 เมื่อเทียบกับจำนวน 44,023 ตัน ในปี2560 เนเธอร์แลนด์26,714 ตัน ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 27,175 ตัน ในปี2560 สหราชอาณาจักร 18,178 ตัน ลดลง 32.1% เมื่อเทียบกับจำนวน 26,775 ตัน ในปี2560 กาบอง 33,060 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 24,677 ตัน ในปี2560 ส่วนประเทศอื่นๆ ที่กัมพูชาส่งออก ในปี2561 เช่น เวียดนาม 26,712 ตัน ไทย 23,816 ตัน เป็นต้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมา
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (Myanmar Rice Federation; MRF) ระบุว่าการส่งออกข้าวในปีนี้ จะมีอุปสรรค มากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกข้าวไปประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดมีแนวโน้มลดลง และอาจจะทำให้การส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2560/62 ไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ที่ 2.5 ล้านตัน (ภายในปี 2563/64 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกที่ 4 ล้านตัน มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมสองฝ่ายระหว่างหน่วยงานของทั้งสองประเทศ (the Second China Myanmar Economic Corridor Forum) ที่มณฑลยูนนานของจีน เมื่อเดือนที่ผ่านมาผู้แทนเจรจาของรัฐบาลเมียนมา ได้ขอให้รัฐบาลจีนเพิ่มโควตานำเข้าข้าวจากเดิมปีละ 100,000 ตัน เป็น 400,000 ตัน ซึ่งได้มีการร่างข้อตกลงไว้แล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่เปิดเผยออกมา นอกจากนี้ทางการเมียนมายังต้องการให้ทางการจีนปรับลดภาษีนำเข้าข้าวจากเมียนมา ลงจากเดิมที่ประมาณร้อยละ 60 เหลือเพียงร้อยละ 17-20 รวมทั้งขอให้มีการจัดสรรใบอนุญาตนำเข้า ให้แก่เอกชนของจีนเพื่อนำเข้าข้าวจากเมียนมาด้วย
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) รายงานว่า ในปีงบประมาณปัจจุบัน (2561/62 ระหว่าง 1 เมษายน 2561 –31 มีนาคม 2562) ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 - 15 กุมภาพันธ์ 2562 เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักรวมแล้ว ประมาณ 2.114 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกผ่านทางแนวชายแดนที่ติดกับประเทศจีน ประมาณ 1.076 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 360 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่งออกทางเรือประมาณ 1.038 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ในปีงบประมาณ 2560/61 เมียนมาส่งออกข้าวสารประมาณ 2.89 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และข้าวหักประมาณ 620,696 ตัน)
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ (the Ministry of Commerce) รายงานว่า ในช่วง 9 เดือนแรก (เมษายน- ธันวาคม 2561) ของปีงบประมาณปัจจุบัน (2561/62) เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักรวมกันประมาณ 1.7 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปประเทศจีนทางแนวชายในสัดส่วนประมาณร้อยละ 48 ของปริมาณทั้งหมด ขณะที่อีกร้อยละ 52 เป็นการส่งไปยังประเทศอื่นๆ ทางทะเล โดยปริมาณส่งออกในปีล่าสุด ลดลงเกือบ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.5 ล้านตัน มูลค่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการนำเข้าข้าวจากประเทศจีนลดลง โดยในปีนี้รัฐบาลได้ร่วมมือกับสหพันธ์ข้าวเมียนมา (Myanmar Rice Federation) ในการผลักดันการส่งออกโดยการปรับปรุงด้านการผลิต คุณภาพ ข้อมูลด้านการตลาด การวิจัย รวมทั้งการเชื่อมโยงไปยังตลาดนำเข้าใหม่ๆ ด้วย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.09 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,510 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 304.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,594 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 84 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 365.68 เซนต์ (4,588 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 372.16 เซนต์ (4,683 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 95 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 7.84 ล้านตัน (ร้อยละ 26.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง แต่ราคามันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก เนื่องจากเมื่อผลิตเป็นมันเส้นแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.13 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.20 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.18
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.43 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.15 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.44
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.08 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.81
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.55 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 218 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,853 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,781 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.40
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,399 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,445 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.682 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.303 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.572 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.283 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 7.00 และร้อยละ 7.07 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.12 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.22 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 14.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 14.68 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,062 ริงกิตต่อตัน (504.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.4 ซึ่งราคาได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากความต้องการของผู้นำเข้าชะลอตัวลง ประกอบกับผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันชาวยุโรปได้ลดการบริโภคน้ำมันปาล์มที่เกิดจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปลูกปาล์มน้ำมันจะส่งผลให้มีการทำลายป่าไม้ นอกจากนี้ความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกปรับตัวลดลง ดังนั้น เพื่อกระตุ้นการส่งออก คาดว่ามาเลเซียจะออกมาตรการปรับลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในเดือนเมษายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0 ซึ่งอินโดนีเซียได้ออกมาตรการปรับลดภาษีเพื่อกระตุ้นส่งออกน้ำมันปาล์มดิบแล้วในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,971.13 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.51 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,986.12 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 546.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.27
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 96,401,999 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 10,342,278 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 8,211,048 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 2,131,230 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.31 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 107.28 กก.ต่อตันอ้อย
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย
ประธานสมาคมการค้าน้ำตาลแห่งอินเดีย (All India Sugar Association) รายงานว่า ในฤดูการผลิตปี 2561/2562 โรงงานน้ำตาลได้ทำสัญญาส่งออกน้ำตาล 2.20 ล้านตัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 โรงงานผลิตน้ำตาลส่งมอบไปแล้วกว่า 1 ล้านตัน เป็นน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลดิบ จำนวนเกือบเท่ากัน โดยส่งออกไปยังประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และโซมาเลีย
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.18 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 884.84 เซนต์ (10.36 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 896.76 เซนต์ (10.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 299.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.54 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 303.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.53 เซนต์ (20.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.68 เซนต์ (20.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.18 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 884.84 เซนต์ (10.36 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 896.76 เซนต์ (10.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 299.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.54 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 303.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.53 เซนต์ (20.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.68 เซนต์ (20.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51
ยางพารา
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 47.95 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1 ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.67 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.17 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.67 บาท เพิ่มขึ้นจาก 42.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.39
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.11 บาท ลดลงจาก 21.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.86
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.67 บาท ลดลงจาก 18.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.07
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.29 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.39 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.24 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.94 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12
ณ ท่าเรือสงขลา
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.99 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.98 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.69 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.15
2. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 173.20 เซนต์สหรัฐฯ (54.45 บาท) ลดลงจาก 174.74 เซนต์สหรัฐฯ (55.11 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.54 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.88
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.42 เยน (52.20 บาท) ลดลงจาก 196.06 เยน (54.84 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 9.64 เยน หรือลดลงร้อยละ 4.92
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1 ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.67 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.17 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.67 บาท เพิ่มขึ้นจาก 42.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.39
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.11 บาท ลดลงจาก 21.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.86
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.67 บาท ลดลงจาก 18.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.07
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.29 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.39 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.24 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.94 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12
ณ ท่าเรือสงขลา
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.99 บาท เพิ่มขึ้นจาก 54.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.98 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.69 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.15
2. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 173.20 เซนต์สหรัฐฯ (54.45 บาท) ลดลงจาก 174.74 เซนต์สหรัฐฯ (55.11 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.54 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.88
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.42 เยน (52.20 บาท) ลดลงจาก 196.06 เยน (54.84 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 9.64 เยน หรือลดลงร้อยละ 4.92
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.66 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.61
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 888.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 886.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 824.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 822.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 792.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473.20 ดอลลาร์สหรัฐ (14.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 471.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 882.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.81 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 880.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.66 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.61
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 888.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 886.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 824.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 822.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 792.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473.20 ดอลลาร์สหรัฐ (14.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 471.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 882.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.81 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 880.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.16 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.98
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.16 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.98
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 74.31 เซนต์ (กิโลกรัมละ 52.21 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 73.78 เซนต์
(กิโลกรัมละ 51.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.22 บาท
(กิโลกรัมละ 51.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.22 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,746 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.62
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,302 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,451 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.27
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,302 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,451 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.27
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลงจากสถานศึกษาปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.86 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.41 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.70 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลงจากสถานศึกษาปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.86 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.41 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.70 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อชะลอตัวลง จากสถานศึกษาต่างๆ ปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.46 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อชะลอตัวลง จากสถานศึกษาต่างๆ ปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.46 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาทยอยปิดภาคเรียน ทำให้ภาวะตลาดไข่ไก่เริ่มเงียบเหงา ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 245 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาทยอยปิดภาคเรียน ทำให้ภาวะตลาดไข่ไก่เริ่มเงียบเหงา ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 245 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 306 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 306 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 -14 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 87.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ150.21 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.05 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 142.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.82 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 -14 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 -14 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 87.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ150.21 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.05 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 142.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.82 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 -14 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา